เงินเดือน
รายได้ขั้นต่ำของประเทศเวียดนาม
เงินเดือน
รายได้ขั้นต่ำของประเทศเวียดนาม
ของประเทศเวียดนามได้เงินประมาน
95 บาทต่อวัน เท่ากับได้ 2850
ต่อเดือน
เวียดนามเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2558
นายเหงวียน
เติ๋น สุง
นายกรัฐมนตรีเวียดนามเห็นชอบตามคำแนะนำของสภาค่าจ้างแรงงานแห่งชาติให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก
250,000-400,000 เวียดนามด่อง
(ประมาณ 12 – 19 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
โดยอัตราดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ส่งผลให้เวียดนามจะมีค่าแรงขั้นต่ำที่ 2.42-3.1 ล้านเวียดนามด่อง
(ประมาณ 101.4 – 146.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ทั้งนี้
ให้ขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่การจ้างงาน
ในเขตพื้นที่ที่ 1 ได้แก่ กรุงฮานอย นครไฮฟอง และนครโฮจิมินห์ ค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ที่ 3.1 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 146.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ซึ่งมีการปรับขึ้น 400,000 เวียดนามด่องจากค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน
ในเขตพื้นที่ที่ 2 ได้แก่ ปริมณฑลของเขตพื้นที่ที่ 1 พร้อมทั้งจังหวัดฮายเซือง หุ่งเอียน บั๊กนิง ถายเหวียน ญาจาง เกิ่นเทอ และแร๊กย้า ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.75 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 129 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
ในเขตพื้นที่ที่ 3 ได้แก่ เขตสำคัญต่างๆ ของจังหวัดฮายเซือง วิงฟุ๊ก ฝูเถาะ บั๊กนิง นามดิ่ง ฝูเอียน ด่งนาย เตียนซาง และเบ๋นแจ ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 120 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
และในเขตพื้นที่ที่ 4 ครอบคลุมรวมทุกพื้นที่ที่ยังมีการพัฒนาไม่มากนัก ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.15 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 101.4 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
สหภาพแรงงานและการค้าเวียดนาม ได้สำรวจแรงงาน 1,500 คน ใน 12 จังหวัด พบว่า ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเวียดนามตามจริง ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับ 2.5-4 ล้านเวียดนามด่อง ขึ้นกับเขตพื้นที่ ซึ่งอัตราค่าจ้างดังกล่าว สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตได้เพียงร้อยละ 69-77 โดยแรงงานร้อยละ 13 มีความเห็นว่าอัตราค่าจ้างดังกล่าวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 25 เห็นว่า ด้วยค่าจ้างจำนวนดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เงินอย่างรอบคอบเพื่อให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และร้อยละ 50 เห็นว่า ค่าจ้างดังกล่าวสามารถใช้สำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ประกอบการเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลต่อธุรกิจของตนเองอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลต่อการแข่งขันทางธุรกิจของเวียดนามในภาพรวม เนื่องจากเวียดนามมีจุดเด่นเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น การพิจารณาขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงาน รัฐบาลควรตัดสินใจอย่างรอบคอบ
นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า จุดแข็งของเวียดนามที่สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้มาสร้างฐานการผลิตในประเทศ ได้แก่ การมีแรงงานราคาถูก การปรับค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลให้ภาคการผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อภาพรวมทางการลงทุนของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงควบคู่กับการดึงดูดการลงทุน คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิเอโตร มาซินา ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนเปิล กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาระยะสั้น คือ การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเพื่อก่อให้เกิดอัตราการจ้างแรงงานท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานด้วยค่าแรงราคาถูก อาจก่อปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวที่ยากจะแก้ไข
ในเขตพื้นที่ที่ 1 ได้แก่ กรุงฮานอย นครไฮฟอง และนครโฮจิมินห์ ค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ที่ 3.1 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 146.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ซึ่งมีการปรับขึ้น 400,000 เวียดนามด่องจากค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน
ในเขตพื้นที่ที่ 2 ได้แก่ ปริมณฑลของเขตพื้นที่ที่ 1 พร้อมทั้งจังหวัดฮายเซือง หุ่งเอียน บั๊กนิง ถายเหวียน ญาจาง เกิ่นเทอ และแร๊กย้า ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.75 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 129 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
ในเขตพื้นที่ที่ 3 ได้แก่ เขตสำคัญต่างๆ ของจังหวัดฮายเซือง วิงฟุ๊ก ฝูเถาะ บั๊กนิง นามดิ่ง ฝูเอียน ด่งนาย เตียนซาง และเบ๋นแจ ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 120 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
และในเขตพื้นที่ที่ 4 ครอบคลุมรวมทุกพื้นที่ที่ยังมีการพัฒนาไม่มากนัก ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.15 ล้านเวียดนามด่อง (ประมาณ 101.4 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน
สหภาพแรงงานและการค้าเวียดนาม ได้สำรวจแรงงาน 1,500 คน ใน 12 จังหวัด พบว่า ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเวียดนามตามจริง ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับ 2.5-4 ล้านเวียดนามด่อง ขึ้นกับเขตพื้นที่ ซึ่งอัตราค่าจ้างดังกล่าว สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตได้เพียงร้อยละ 69-77 โดยแรงงานร้อยละ 13 มีความเห็นว่าอัตราค่าจ้างดังกล่าวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 25 เห็นว่า ด้วยค่าจ้างจำนวนดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เงินอย่างรอบคอบเพื่อให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และร้อยละ 50 เห็นว่า ค่าจ้างดังกล่าวสามารถใช้สำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ประกอบการเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลต่อธุรกิจของตนเองอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลต่อการแข่งขันทางธุรกิจของเวียดนามในภาพรวม เนื่องจากเวียดนามมีจุดเด่นเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น การพิจารณาขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงาน รัฐบาลควรตัดสินใจอย่างรอบคอบ
นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า จุดแข็งของเวียดนามที่สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้มาสร้างฐานการผลิตในประเทศ ได้แก่ การมีแรงงานราคาถูก การปรับค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลให้ภาคการผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อภาพรวมทางการลงทุนของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงควบคู่กับการดึงดูดการลงทุน คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปิเอโตร มาซินา ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนเปิล กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาระยะสั้น คือ การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเพื่อก่อให้เกิดอัตราการจ้างแรงงานท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานด้วยค่าแรงราคาถูก อาจก่อปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวที่ยากจะแก้ไข
มาดูรายได้และค่าแรงขั้นค่ำ ของอาเซียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น